วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ณ ปาย รีสอร์ท

ข้อมูลโรงแรม - ณ ปาย รีสอร์ทณ ปาย รีสอร์ท รีสอร์ที่ตั้งอยู่ริมน้ำ แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติ รายล้อมด้วยทุ่งนา ข้าว ที่รอต้อนรับผู้มาเยือนในช่วงฤดูหนาว ด้วยรวงข้าวสีทองสะท้อนแสง ยามแดดส่อง วาวระยับไปทั่วบรเวณเลยทีเดียว สร้างความตระการตาให้แก่ผู้พบเห็น และ พร้อมผ่อนคลายความเหนื่อยล้า ด้วยห้องพักจำนวน 20 ห้องแบบบังกะโล ทั้งในแบบบ้านสไตล์ล้านนา (ไทยใหญ่) และบังกะโล(ไม้ไผ่) รีสอร์ทมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เช่น แค้มป์ไฟ พร้อมกิจกรรม ต่าง ๆ ยามค่ำคืน หรือจะเดินทางท่องเที่ยวชมธรรมชาติยามเช้าช่วงเวลากลางวันได้โดยรอบเมืองปาย
สิ่งอำนวยความสะดวก - ณ ปาย รีสอร์ท

สิ่งอำนวยความสะดวกภายในห้องพัก

  • พัดลม
  • เครื่องปรับอากาศ
  • ทีวี
  • กระติกน้ำร้อน
  • เครื่องทำน้ำอุ่น
  • ชุดอุปกรณอาบน้ำ
  • ระเบียงชมวิว
สิ่งอำนวยความสะดวก - ณ ปาย รีสอร์ทสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโรงแรม
  • พนักงานต้อนรับ
  • ห้องอาหาร
  • จักรยานเสือภูเขา
  • ลานกิจกรรม
  • ร้านขายของเบ็ดเตล็ด
  • นวดแผนไทย
สิ่งอำนวยความสะดวก - ณ ปาย รีสอร์ท
ห้องพัก - ณ ปาย รีสอร์ท

สิ่งอำนวยความสะดวก - ณ ปาย รีสอร์ท
สิ่งอำนวยความสะดวก - ณ ปาย รีสอร์ท
สิ่งอำนวยความสะดวก - ณ ปาย รีสอร์ท

สิ่งอำนวยความสะดวก - ณ ปาย รีสอร์ท
สิ่งอำนวยความสะดวก - ณ ปาย รีสอร์ท
สิ่งอำนวยความสะดวก - ณ ปาย รีสอร์ท
สิ่งอำนวยความสะดวก - ณ ปาย รีสอร์ท
สิ่งอำนวยความสะดวก - ณ ปาย รีสอร์ท
สิ่งอำนวยความสะดวก - ณ ปาย รีสอร์ท
สิ่งอำนวยความสะดวก - ณ ปาย รีสอร์ท
ภาพถ่าย - ณ ปาย รีสอร์ทสถานที่ตั้ง : ตำบล แม่นาเติง

ณ ปาย รีสอร์ท รีสอร์ทติดริมแม่น้ำ และแวดล้อมด้วยภูเขา ทุ่งหญ้า เรือสวนไร่นา ที่อยู่อยู่ในเขต อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีระระห่างจากเชียงใหม่ประมาณ 105 กิโลเมตร สามารถเดินทางได้สะดวกสบายทั้งท่านที่ขับไปเองหรือ ใช้บริการรถตู้จากเชียงใหม่ ก็สะดวกสบาย

แผนที่ - ณ ปาย รีสอร์ท

แผนที่ - ณ ปาย รีสอร์ท

ริเวอร์เฮ้าส์ รีสอร์ท

ริเวอร์เฮ้าส์ รีสอร์ท

ข้อมูลโรงแรม - ริเวอร์เฮ้าส์ รีสอร์ท

ห้องพัก - ริเวอร์เฮ้าส์ รีสอร์ทแม่ฮ่องสอนริเวอร์ไซด์ สามารถมองเห็นวิวแม่น้ำปายที่ รอต้อนรับคุณด้วยความด้วยความอบอุ่นของสายน้ำ และเราพร้อมบริการคุณด้วย ห้องพักที่แตกแต่ง แบบทันสมัย สะดวกสบายและแต่ละห้องสามารถมองเห็นวิวธรรมชาติ สัมผัสเสียงของสายน้ำ

ริ เวอร์เฮาส์ รีสอร์ท, แม่ฮ่องสอนเป็นรีสอร์ทระดับ 3 ดาว นำเสนอทิวทัศน์ริมสระว่ายน้ำและแม่น้ำกก ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในโรงแรมชั้นนำของจังหวัดเชียงราย ห้องพักทั้งหมดมาพร้อมอินเตอร์เน็ตไร้สายและบริการผลไม้สดทุกวัน อีกทั้งยังมีอาหารไทยและอาหารนานาชาติให้บริการที่ร้านอาหารธาราและพนักงาน ที่รอต้อนรับคุณและพร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับทัวร์ต่างๆ

สิ่งอำนวยความสะดวก - ริเวอร์เฮ้าส์ รีสอร์ท แผนที่ - ริเวอร์เฮ้าส์ รีสอร์ทห้องพักสแตนดาร์ด สามารถมองเห็นวิวได้อย่างชัดเจน ซึ่งในยามเช้า ท่านจะได้เห็นไอหมอกเย็นสบายกับเสียงสายน้ำไหล ที่โรงแรม เรามีบรรยากาศของป่าเขาที่ยังไม่มีการบุกรุก ด้วยบรรยากาศของแม่น้ำที่ใสสะอาด

สิ่งอำนวยความสะดวกในห้องพัก

  • เครื่องปรับอากาศ
  • มินิบาร์

สิ่งอำนวยความสะดวกในโรงแรม
  • เครื่องปรับอากาศ
  • สิ่งอำนวยความสะดวกในห้องจัดเลี้ยง สิ่งอำนวยความสะดวกในห้องประชุม
  • แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
  • โทรศัพท์ระบบไอดีดี(ใช้ในการโทรทางไกลระหว่างประเทศ)
  • ซักรีด
  • ที่จอดรถ
  • สระว่ายน้ำ
  • ร้านอาหาร
  • รูมเซอร์วิส
  • โต๊ะจัดให้บริการกี่ยวกับการท่องเที่ยว
ภาพถ่าย - ริเวอร์เฮ้าส์ รีสอร์ท
ภาพถ่าย - ริเวอร์เฮ้าส์ รีสอร์ท
ภาพถ่าย - ริเวอร์เฮ้าส์ รีสอร์ท
ภาพถ่าย - ริเวอร์เฮ้าส์ รีสอร์ท
ภาพถ่าย - ริเวอร์เฮ้าส์ รีสอร์ท
ริเวอร์เฮาส์ รีสอร์ท ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกก โดยอยู่ห่างจากสนามบินเชียงรายประมาณ 7 กิโลเมตร อีกทั้งเดินทางเพียง 3 กิโลเมตรสู่ใจกลางเมือง นอกจากนี้ที่พักยังอยู่ห่างจากชายแดนไทย-พม่าเพียง 60 กิโลเมตร ส่วนสามเหลี่ยมทองคำและตำหนักดอยตุง รวมถึงดอยแม่สะลอง ก็ล้วนอยู่ใกล้ที่พัก

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ภูลังกา บนเส้นทางแห่งดวงดาวและสายหมอก

ภูลังกา เชียงราย
ภูลังกา เชียงรายบนเส้นทางแห่งสายลมที่พัดความหนาว เย็นมาจากหุบเขาเบื้องล่าง กับผืนฟ้าเริ่มสางที่ตีนฟ้ายกให้เห็นแรกอรุณ ในขณะที่ดวงดาวบนท้องฟ้ายังคงพราวพร่างระยิบ ดาวประจำเมืองยังคงสกาวอยู่ตรงที่สุดของฟ้าเหนือเทือกเขา ไม่นานนักทะเลหมอกเริ่มเผยให้เห็นความอลังการ หลังจากบ่มความงดงามไว้ภายใต้ความหนาวเย็นของฤดูกาล สีของเวลาขับผ่านไปอย่างเนิบช้า ริ้วหมอกบาง ๆ พลิ้วไปตามท่วงทำนอง และจังหวะแห่งความเคลื่อนไหว เรายืนให้เวลาล่วงผ่านไปพร้อมซึมซับความงดงามของธรรมชาติผ่านสายตาและ หัวใจ...

เมื่อ แสงแรกของวันเผยให้เห็นทะเลหมอกเบื้องล่างอย่างเต็มตา ความอลังการและงดงามนั้น คงไม่มีคำใดจะบรรยาย แต่อยากให้ไปเห็นด้วยกันที่สุดปลายทางแห่งผืนฟ้า...ภูลังกา
ภูลังกา เชียงราย
ภูลังกา เชียงรายนกปลีกล้วยลายโผเข้าจับปลีกล้วยป่าที่กำลังเผยให้เห็นดอก ก่อนจะสอดเรียวปากที่ยาวโค้งเข้าไปดูดน้ำหวานภายในปลีดอก พร้อมกับหน้าผากที่แต้มเอาเกสรมาด้วย เมื่อมัวไปหาน้ำหวานในดอกต่อไป ก็จะช่วยให้การผสมเกสรเป็นไปอย่างที่ควร ผมนั่งมองนกตัวนี้โผบินอย่างเสรีในยามเช้า ที่สายฝนเพิ่งขาดเม็ดไปไม่นาน บนต้นไม้ใกล้กับระเบียงบ้าน นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ห้อยหัวหาแมลงอย่างปราดเปรียว ไกลออกไป นกปรอดหัวสีเขม่า เกาะยอดไม้ไซ้ขนอาบแดดเช้าอย่างสบาย ๆ ก่อนจะขยับปีกออกบินเมื่อเสียงรถกระบะเคลื่อนเข้ามาใกล้

สมชาติ พวงพะยอม หัวหน้าวนอุทยานภูลังกา ลงมาจากรถคันนั้น หลังจากที่เราทักทายกันพอสมควร เรามีแผนการสำรวจ วนอุทยานภูลังกา รวมถึงการเข้าไปเยี่ยมชมหมู่บ้านของชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ ในปริมาณนี้ด้วย และหลังจากอาหารเช้าอันแสนอร่อยผ่านไป เราจึงเดินไปแบกสัมภาระขึ้นบนท้ายรถกระบะคันเก่ง เพื่อขับไปจอดไว้ยังปลายสุดเส้นทางลาดยาง ที่ต่อจากนั้นเราจะเดินเท้าขึ้นไปยังยอดภูลังกากัน
ภูลังกา เชียงรายจากจุดจอดรถ ทางดินแดงทอดตัวเข้าไปในผืนป่าเขียวเข้มซึ่งห่มคลุมไว้ด้วยผืนหมอก ขึ้นเนินมาได้ไม่กี่สิบเมตรเราก็ได้เจอกับ กล้วยไม้กินซากดอกสีเหลือง กำลังชูช่อส่งดอกขึ้นคลอเคลียอากาศดูงดงาม กล้วยไม้ชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า เอื้องแฝงภู (Aphillorchismontana) สำหรับกล้วยไม้กินซากนั้น ทางวิชาการจัดให้เป็นพืชในกลุ่ม Mycoheterotrophic ซึ่งหมายถึงการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตต่างกลุ่มกัน เช่น พืชและรา โดยจะเป็นพืชที่พึ่งราแบบพาราไซต์ หรือราที่อาศัยอยู่ในรากของพืช ซึ่งพืชจะได้รับสารอาหารจากการที่ราย่อยอินทรียวัตถุในบริเวณนั้น ที่สำคัญ พืชและราต้องเป็นคู่ที่จำเพาะเจาะจงเท่านั้น และนั่นคงเป็นการพึ่งพาผูกพันของสรรพชีวิต ในธรรมชาติที่สุดแสนวิเศษของสิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิดนี้ เราอาจจะเป็นได้เพียงผู้สังเกตหรือเฝ้ามองธรรมชาติเท่านั้นเอง และในบางความหมาย เราคงไม่อาจเข้าใจพวกเขาได้อย่างแท้จริง เหมือนในบางราวที่ตัวเราเองยังไม่อาจทำความเข้าใจตัวเองได้ทั้งหมด

ตามเส้นทางเดินที่มุ่งสู่เบื้องหน้า เรายังคงพบกับกล้วยไม้ชนิดนี้อีกหลายสิบต้น และในบางบริเวณก็อยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่อย่างน่ามหัศจรรย์ ความงดงามของบางชีวิตที่กำเนิดในช่วงฤดูฝน มีให้เห็นเพียงไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ต่อปีเท่านั้น และนั่นก็เป็นเหมือนเกราะคุ้มครองความหมายอันซ่อนเร้น ภายใต้เม็ดน้ำที่รวมกลุ่มกันจนเป็นหมอกเหมย ช่วยปกคลุมให้ป่าดูลี้ลับและชวนค้นหา

มิตรภาพก็เช่นกัน อาจจะเลือนหายไปกับสายหมอก หรือจะแจ่มชัดภายใต้สายหมอก ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับหัวใจของแต่ละคนที่ส่งผ่านออกมาโอบอุ้มกันและกัน

ภูลังกา เชียงราย ลมแผ่ว ๆ กับความขึ้นและความหนาวเย็นส่งผ่านร่องหุบและสายห้วยมาคลุมทุกอณู ดอกเทียนดอย (Impatiens violaeflora) กลุ่ม ใหญ่ส่งสีม่วงสวยสุดของกลีบดอก ออกมาแบ่งบานและแบ่งปันความรู้สึกให้เต็มอิ่ม ในเวลาที่เหนื่อยล้า 2 ชั่วโมงแล้ว ที่เราผ่านเนินชันขึ้นมา การได้หยุดถ่ายภาพดอกไม้ แมลง หรือผืนป่าสวย ๆ ทำให้เราเดินกันอย่างสนุกสนาน หัวหน้าสมชาติเดินขึ้นแนะนำสมุนไพรต่าง ๆ พร้อมสรรพคุณให้เราได้รู้จักกันมากมาย ในที่สุดสิ่งที่เราไม่อาจจะหลีกเลี่ยงคือสายฝน ก็โปรยสายลงมาอย่างไม่ขาดเม็ด

เราวางกระเป๋าไว้ตรงขอนไม้บริเวณทางแยกก่อนจะตัดเข้าสู่ผืนป่า เพื่อไปยัง น้ำตกภูลังกา สาย หมอกยังคงห่มคลุมไปทุกตารางนิ้ว และขณะที่เรากำลังเดินลงไปตามความชันของหุบห้วย สายฝนห่าใหญ่ก็ถั่งโถมลงมา เรายืนคอยให้ฝนชาจนเปียกปอนไปหมด เพราะอุปกรณ์กันฝนได้นำไปกันกล้องเสียหมด ในที่สุดเราก็สามารถถ่ายภาพ น้ำตกภูลังกา มาได้ โดยใช้ผ้ากันฝนมาคลุมไว้ เพื่อไม่ให้กล้องและเลนส์ได้รับน้ำมากจนเกินพอดี และยามนี้ น้ำตกภูลังกา กำลังงดงามอย่างพอเหมาะเลยทีเดียว เพราะมีน้ำเต็มหน้าผาไหลชุ่มฉ่ำ ผสานกับสายหมอกที่ห่มคลุมอยู่เหนือผืนป่าดิบเขา นับได้ว่าเป็นความอ่อนหวานของธรรมชาติอย่างแท้จริง บางคราวการได้มองอะไรนิ่ง ๆ นาน ๆ ก็ทำให้เห็นอะไรมากกว่าที่ตาเห็นอีกหลายอย่าง ขอเพียงชีวิตไม่ฉาบฉวยจนเกินไปก็น่าจะเพียงพอแล้ว

สายฝนและความชุ่มฉ่ำได้สร้างความขึ้นให้กับผืนป่า และสร้างชีวิตที่หลากหลายให้กำเนิดขึ้นในห้วงกาลนี้ ลูกไม้จากช่วงแล้งที่รอดจากการกัดแทะของสัตว์ต่าง ๆ มาแล้ว ก็พร้อมสำหรับการแตกหน่อช่อใบในยามที่ความขึ้นทำให้ดินไม่หมาดน้ำ เปลือกแข็งของลูกไม้เริ่มอ่อนนุ่มเมื่อถูกน้ำหุ้มและอ่อนยวบ จนสามารถแทงออกมาจากแกนกลางของเมล็ดได้ไม่ง่ายเลยที่หนึ่งชีวิตจะสามารถเติบ โตได้ในผืนป่ากว้าง หากเรามองเห็นการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขเป็นสิ่งที่ดี การอยู่ร่วมกันแบบเบียดเบียนของธรรมชาติ ก็เป็นสิ่งที่เราต้องรับให้ได้ด้วยเช่นกัน ไม่มีสิ่งใดจะเสียไปทั้งหมด หรือเกิดมาเพื่อทำความเลวร้ายให้แผ่นดินแต่เพียงอย่างเดียว
ภูลังกา เชียงราย จาก น้ำตกภูลังกา เราเดินขึ้นมาตามทางอีกแค่ไม่กี่อึดใจ ก็เจอกับต้นไม้ขนาดใหญ่มากที่ไม่อาจต้านทานแรงลม ล้มลงอย่างที่ผมและใครที่เห็นต่างบอกว่าไม่น่าจะล้มเลย ต้นนี้คงอยู่เป็นเพื่อนฟ้ามานานเนิ่นแน่ ๆ ผมเดินไปสำรวจกล้วยไม้และพรรณไม้ต่าง ๆ ที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่บนเรือนยอดสูงลิบจนเราต้องแหงนกันคอตั้งบ่า แต่ตอนนี้ลงมาอยู่บนพื้นดินให้เราได้ลองสอดส่องดู ในที่สุดก็เจอกับกล้วยไม้สีขาวขนาดเล็ก ที่อาจจะเป็นช่อสุดท้ายของฤดูกาลนี้แล้ว เนื่องจากกออื่น ๆ ได้ติดฝักไปหมดแล้ว ผมยืนมองดอกไม้ชนิดนี้ด้วยความสุขใจ ก่อนจะจัดการกางขาตั้งกล้องและติดเลนส์มาโคร เพื่อบันทึกภาพระยะใกล้เอาไว้ สำหรับกล้วยไม้เล็ก ๆ ดอกสีขาวที่เราเห็นอยู่นี้มีชื่อว่า เอื้องนิ่มน้อย (Eria globulifera)

บ่อย ครั้งที่เราใช้เวลาอย่างรวดเร็ว และเร่งรีบกับการเพียงไปให้ถึงจุดหมาย โดยหลงลืมความหมายที่ซ่อนไว้สองข้างทาง คราวนี้การเดินเท้าไปอย่างช้า ๆ ภายใต้ร่มเงาและความชุ่มฉ่ำของผืนป่าทำให้ได้เห็นอะไรมากมาย ซึ่งนั่นเป็นการเติมเต็ม บางความหมายให้ชีวิตได้เป็นอย่างดี และคงอาจจะเป็นเช่นเดียวกับธรรมชาติในแต่ละฤดูกาล ที่ต่างเติมเต็มกันและกันด้วยบางความหมายเช่นกัน...
ภูลังกา เชียงรายบรรยากาศระหว่างทางเดินเท้าสู่ยอดภูลังกา ทำให้เราได้พบสิ่งต่าง ๆ ที่หลอมรวมกันเป็นผืนป่ามากมาย เราได้ความรู้จากการแลกเปลี่ยนกันของเพื่อนร่วมทาง หลังมื้อเที่ยวกันเองแบบง่าย ๆ กับอาหารที่เตรียมมา เราเดินกันต่อไปอีกราว 2 ชั่วโมง ก็ถึงบริเวณศาลาแปดเหลี่ยมซึ่งตั้งอยู่ทางขึ้นยอดภูลังกา โดยจุดนี้เราจะใช้เป็นแหล่งพักกายในช่วงคืนนี้

"ผมว่าสายหมอกไหลอย่างนี้ ภาพเคลื่อนไหวถ่ายทอดออกมาได้สวยเลย" ยิ่งยศ จักรสาน เพื่อนผู้อ่อนไหวกับสรรพชีวิตบนผืนโลกมากกว่าตัวเองให้ความเห็น ก่อนจะหยิบกล้องคอมแพ็กต์ระดับสูงออกไปยืนบันทึกภาพเหล่านั้น เพราะเพื่อนผมคิดจะทำสารคดีสนุก ๆ สไตล์อินดี้สักเรื่อง เอาไว้ชมความเคลื่อนไหวและลื่นไหลไปตามองศาแห่งเวลา

แสง ตะวันยามบ่ายแก่ ๆ พอจะส่งอออกมาได้บ้างแล้ว ฝูงนกป่าบินเริงร่าออกมาตากปีกและหาอาหาร ผมยืนมองนกบินอย่างล่องลอย ไม่ต้องคิดว่าจะได้เห็นหรือได้ยินอะไร ได้แต่มองตามที่ใจคิด มองความเลื่อนไหวของปลายปีก ผมไม่มีคำถามหรือคำตอบแทนสิ่งมีชีวิตที่กำลังไปเหมือนไร้ทิศทาง มีแต่คำตอบให้กับความสุขของตัวเองในเวลานี้เท่านั้น ซึ่งเพียงเท่านี้ก็คงจะพอแล้ว สำหรับในบางเสี้ยวของเวลา

"สมัย ก่อนชาวเขาเผ่าเย้ามาทำไร่ฝิ่นอยู่ด้านหลังดอยนี้ พอช่วงวันขึ้น 15 ค่ำ ก็จะมีแสงส่องออกมาจากยอดดอย จึงรวมตัวกันขึ้นมาดูว่าเกิดจากอะไร พอขึ้นมาถึงยอดดอยก็เห็นว่ามีแท่นหินขนาดใหญ่อยู่ จึงเชื่อกันว่าบนดอยแห่งนี้เป็นที่อยู่ของ ฟินจาเบาะ หรือ เทวดา เลยเรียกกันว่า ภูเทวดา สุดท้ายก็เพี้ยนกันมาเรื่อย ๆ จนกลายเป็น ภูลังกา อย่างในปัจจุบัน" หัวหน้าสมชาติ บอกเล่าเรื่องราวที่มาของชื่อเทือกดอยแห่งนี้ให้เราฟัง หลังจากดื่มชาเจียวกู้หลานร้อน ๆ พอให้ร่างกายสดชื่นเรียบร้อย
ภูลังกา เชียงราย ช่วงเย็นวันนี้ผมและคณะ จะออกเดินเท้าไปยังจุดสูงสุดของภูลังกา เพื่อไปรอชมแสงสุดท้ายของวันอย่างที่เคยขึ้นมา เมื่อคราวที่ลมหนาวยังคงอวลอยู่ในอากาศ ทว่าเพียงคิดก็หมดโอกาสแล้ว เพราะน้ำฟ้าได้ร่วงพรูมาอีกครั้ง ผมจึงเปลี่ยนแนวมานั่งมองธรรมชาตินิ่ง ๆ และพูดคุยกันระหว่างเพื่อน นานพอควรแล้วที่เราไม่ได้เดินด้วยกัน แต่ทุกความหมายระหว่างย่างก้าวที่ผ่านมานั้น ไม่ได้เลือนไปกับเวลาที่ผ่านไปแต่ประการใด ความสุขของการเดินทางอาจจะได้รับมาจากหลายประเด็น และการได้เดินทางกับคนที่มีความละมุนละไมต่อธรรมชาติ ก็คือหนึ่งในนั้น

หลัง จากที่แสงสุดท้ายของวันหายไปจากฟากฟ้า พลากร บุญทาวงษ์ ช่างภาพที่มาช่วยมากกว่าการถ่ายภาพ ก็ส่งเสียงมาพร้อมกับยื่นจอกเล็ก ๆ ที่ก้นจอกมียาแก้หนาวต้มกลั่นจากข้าวเหนียวมาให้

"เดี๋ยวกินอาหารญี่ปุ่นกันเลยนะ น้ำเดือดแล้ว" ผมยกแก้วเทของเหลวเหล่านั้นหายวาบไปในลำคอ ความร้อนแรงของดีกรีคงไม่อาจจะประเมินได้ เพราะมันลงไปแทบทุกขดของลำไส้ แต่นั่นไม่ได้ช่วยให้ฝนหยุดหรืออบอุ่นได้มากไปกว่ามิตรภาพ...
ภูลังกา เชียงราย เราผ่านค่ำคืนที่ฟ้ารั่วมาได้อย่างไม่ลำบากนัก แม้จะมีฝนสาดเข้ามาบ้างก็ตาม ยามเช้าตรู่ของวันนี้ยังคงอวลไปด้วยน้ำหมอกที่ชุ่มฉ่ำ ผมลุกขึ้นมาต้มน้ำบนเตาแก๊สขนาดเล็กเพื่อชงกาแฟ ระหว่างรอน้ำเดือด ผมมองไปยังปลายเทือกดอย หมอกแผ่นหนาไหลคลอเคลียเทือกดอยจนดูคล้ายสายน้ำไหล ภาพนี้ผมเคยเก็บไว้พร้อมกับแสงสียามเช้าในวันหนาวของฤดูที่ผ่านมา วันนี้แม้ท้องฟ้าจะไม่มีสีสันตระการตา แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความประทับใจลดน้อยลงแต่อย่างใด

เมล็ดกาแฟคั่วบดในซองใส่แบบซิปถูกเทลงในแก้วชงกาแฟแบบเพรส พอได้เวลาผมจึงรินออกมาแบ่งกันดื่ม กาแฟขมกลมกล่อม กลิ่นหอมกำลังดีในจอกสเตนเลสแบบมีหูจับ ทำให้สติฟื้นสมบูรณ์ขึ้น ผมยืนมองความเคลื่อนไหวที่มาตามร่องหุบและยอดดอย กาแฟหมดไปพักใหญ่แล้วหมอกหนาก็คลายลง ผมเดินเก็บภาพหยดน้ำที่เกาะพราวอยู่บนใยแมงมุม ยอดหญ้า และบนก้านชูสเปอร์ของมอสขนาดเล็กในบริเวณใกล้ ๆ ศาลาแปดเหลี่ยม เราพร้อมเดินขึ้นสู่ยอดสูงสุดของภูลังกา หลังจากที่นกกลุ่มใหญ่เริ่มออกบินขึ้นสู่ท้องฟ้า และทิ้งให้น้ำค้างร่วงพรู

ผม หยุดถ่ายภาพกล้วยไม้ดินเล็ก ๆ อีกหลายชนิดระหว่างทางเดินขึ้นสู้ยอดดอย หญ้าที่เคยแห้งเหลืองในยามที่ดินหมาดน้ำ กลับมีชีวิตชีวาแตกใบคลุมทางไว้อย่างเสรี และไม่นานนักเราก็มายืนบนจุดสูงสุดที่มีแท่นเทวดา หรือ "ฟินจาเบาะ" เป็นจุดหมายให้เราได้รู้ความพิเศษของแดนดอยแห่งนี้ ที่คงไม่ได้มีเพียงเรื่องเล่าอันอัศจรรย์ของชนเผ่าในละแวกนี้ แต่ความพิเศษ คือความงดงามกลมกลืนของผู้คนและผืนป่าที่พึ่งพาผูกพันกัน โดยมีการเชื่อมโยงกันระหว่างวนอุทยานภูลังกา ชาวบ้านผู้นำชุมชน โครงการหลวง ทำให้ผืนป่าเล็ก ๆ แห่งนี้ยังคงเป็นต้นน้ำให้กับหลายหมู่บ้านในละแวกนี้
ภูลังกา เชียงราย
เรานั่งพักให้หมอกที่ลอยขึ้นมาจากหุบเขาห่อหุ้มร่างกายและหัวใจ "ไอ้ก้านเขียวตรงแท่นเทวดาน่ะ เค้าเรียกหอมชู มีที่เดียวเฉพาะตรงนี้ อย่างที่หัวหน้าบอกเมื่อวานไง" พี่หนุ่มน้อย เจ้าหน้าที่วนอุทยานภูลังกา ซึ่งขึ้นมากับเราชี้ให้ดูพืชชนิดหนึ่ง ที่เชื่อกันว่าพบเพียงจุดนี้เท่านั้น ในพื้นที่บริเวณนี้ลากยอดดอยเราเดินต่อไปยังลานหินล้านปี ซึ่งในเวลานี้ช่างแสนงดงาม เพราะบนก้อนหินเต็มไปด้วยสีชมพูหวานฉ่ำของดอกเทียนดอย และดอกสีขาวของตาเหินไหว รวมไปถึงมอสสีเขียวสดใสคล้ายกับปูพรมไว้บนก้อนหินก็มีปาน ยิ่งอยู่ภายได้ม่านหมอกด้วยแล้ว คล้ายจะทำให้ความงามเพิ่มขึ้นอีกมากนัก พวกเราช่วยถ่ายภาพกันหลายมุมตามใจต้องการ โดยแต่ละมุมก็ช่างอ่อนหวานยิ่งนัก สำหรับบริเวณนี้ หากมาในช่วงฤดูหนาวก็สามารถพบดอกไม้ต่าง ๆ สลับหมุนเวียนกันไป นอกจากนี้ ที่นี่ยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกดินได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

หลายชั่วโมงที่เราสัมผัสความอ่อนหวานของดอกไม้บนดอยสูง และได้มีโอกาสเห็นนกกินปลีบางชนิดบินเข้ามาเกาะดูดน้ำหวานจาก ดอกข่าไฟ (Hedychiumcoccineum) พืชชนิดเดียวในสกุลนี้ที่มีสีแดงอมส้มตัดกับผืนป่าสีเขียวเข้มที่ห่มด้วยไอ หมอก และในยามนี้ มีพืชชนิดอื่นๆ ในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) กำลังผลิตอกอยู่หลายชนิด หลายสกุล โดยดอกข่าไฟชนิดดังกล่าวดูโดดเด่นสะดุดตายิ่งกว่าดอกไม้อื่น ๆ แม้ว่าจะแชมอยู่ท่ามกลางกอหญ้าคาหรือคงอ้อก็ตาม เราทยอยกันเดินกลับลงมาอย่างไม่เร่งรีบนัก แม้ว่าจะมีฝนเม็ดเล็ก ๆ เริ่มโปรยปรายลงมาบ้างก็ตาม และเมื่อลงมาเก็บของที่ศาลาแปดเหลี่ยมเรียบร้อย เราก็เดินกันยาว ๆ ลงสู่ที่ทำการวนอุทยานฯ

ในระหว่างทาง บางคราวเราอาจจะหลงลืมหลาย ๆ สิ่งไปกับความเร่งรีบแห่งชีวิต การมองผ่านเลยหลายสิ่งบนเส้นทาง เพราะคิดว่าคงไม่มีอะไรน่าสนใจเท่าไหร่นั้น เป็นวูบหนึ่งที่เราคิดพลาดไป เนื่องจากว่าไม่มีอะไรในผืนป่าจะขาดความสำคัญไปเสียหมด ไม่มีใครที่เกิดมาทำหน้าที่เป็นผู้ให้หรือผู้รับแต่เพียงด้านเดียว เพียงเราเปิดตา เปิดใจมองด้วยความนิ่งงามในหัวใจ เราอาจจะได้เห็นบางอย่างที่ไม่เคยได้พบเลยก็ว่าได้
บ่ายวันนี้เรากลับมาพักยังบริเวณที่ทำการวนอุทยานภูลังกาอีกครั้ง เมื่อลงมาถึงและเก็บอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อย ข้าวปลาอาหารก็พร้อมรอเราอยู่แล้วด้วยพ่อครัวมือเยี่ยมของที่นี่ กับข้าวเด็ด ๆ ที่มีนำเสนอกันพอเรียกน้ำย่อย ได้แก่ เบบี้ฮ่องเต้ผัดน้ำมันหอย ไข่เจียวฟูกรอบนอกนุ่มใน ผักกาดจอกระดูกหมู และผัดพริกสดกับหมู หากได้กินกับข้าวสวยร้อน ๆ ถือได้ว่าสุดใจเลยทีเดียว กับเวลาที่ผ่านมาค่อนวันโดยไม่มีอะไรตกถึงท้อง

"ผักนี่กรอบดีนะครับ ซื้อมาจากไหนครับ" ใครบางคนหยิบแก้วน้ำขึ้นดื่มพร้อมตั้งคำถาม

"มา จากโครงการหลวง ตอนนี้กำลังส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกกันอยู่ ไว้พรุ่งนี้เช้าเราจะไปที่แปลงกัน ผมคุยกับชาวบ้าน และโครงการหลวงไว้แล้ว" หัวหน้าสมชาติ บอกกับงานแบบรวดเดียวจบ พร้อมกับนัดกันอีกครั้งตอนค่ำ ช่วงบ่ายนี้พักผ่อนกันตามสบาย ซึ่งผมได้เล็งปลีกล้วยใกล้ ๆ บ้านพักไว้แล้ว พร้อมกับดงไพรที่ติดรถมาด้วย ผมคิวด่าลองไปนั่งรอเล่น ๆ อาจจะได้ภาพสวย ๆ ของนกปลีกล้วยลายได้ ทว่า ตอนนี้อิ่มจนแทบปลดกระดุมกางเกงสีเขียวละ ฮาฮา

คืนนี้พวกเรานอนหลับกันไม่ดึกนัก แม้ว่า "ชุดเผา" ของหัวหน้าสมชาติ ซึ่งประกอบด้วยหมูสามชั้น ไส้หมู และมะเขือยาว ซึ่งนำมาหมักด้วยเครื่องปรุง ก่อนนำไปย่างด้วยถ่านอ่อน ๆ จะยังเหลืออยู่ไม่น้อย แต่ความอ่อนเพลียของร่างกายก็ทำให้เราอ่อนล้าลงได้ถนัดใจ ผมตั้งกล้องถ่ายภาพดาวหมุนเหนือขุนเขาไว้ราว 40 นาที โดยหวังว่าฟิล์มม้วนนี้เมื่อล้างออกมาแล้ว จะมีรอยเดินทางของดวงดาวในห้วงเวลานั้นประทับอยู่ และอาจพบเจอบางความหมายที่ถูกซ่อนไว้ในนั้น

ของบางอย่างอาจจะเหมือนไกลเกินเอื้อม หรือไม่อาจแตะต้องได้ ทว่า มันอาจช่วยให้ชีวิตเราเปลี่ยนแปลงไปได้เช่นกัน พรุ่งนี้เราอาจจะเจอกับสิ่งนั้น แสงสว่างบนหนทางแห่งชีวิต...

"ตอนนี้ก็เพิ่งเริ่มต้นปลูกเบบี้ฮ่องเต้ ทางโครงการหลวงเขาเข้ามาส่งเสริม ทางเราก็ลงทุนด้านโรงเรียน ปุ๋ย ยา แล้วก็ต้นอ่อนผลผลิตก็ขายให้โครงการหลวงนี่แหละ" สุธี แซ่เตียว ชาวม้งแห่งบ้านปางค่า เป็นผู้เริ่มต้นที่จะเปลี่ยนแปลงสวนลิ้นจี่บางส่วน ให้เป็นโรงเรียนปลูกผัก ซึ่งก็ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยเลย สำหรับโครงกรหลวงปังค่า ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมอาชีพให้ชาวไทยภุเขา ซึ่งยังคงทำไร่เลื่อนลอยหรือปลูกพืชเสพติด มีอาชีพที่มั่นคงในการดำรงชีวิต โดยในช่วงแรกทางโครงการหลวงปังค่าเน้นไปในแนวทางของการศึกษา และทดลองปลูกพืช ผัก ผลไม้จากเขตอบอุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฟักทองยักษ์และอะโวคาโด ที่ให้ผลผลิตได้เป็นอย่างดี รวมถึงเน้นไปในแนวทางการจัดการท่องเที่ยวในชุมชนให้ยั่งยืนอีกด้วย

"ปัจจุบัน นอกจากทางโครงการหลวงปังค่าจะส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนแล้ว ก็ยังนำพืชผักต่าง ๆ มาส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่มีรายได้ โดยเราจะซื้อเข้ากลับไปจำหน่ายในร้านโครงการหลวง ตอนนี้มีหลายหมู่บ้านแล้วที่เข้าร่วมกับทางเรา" สมชาย กันหา เจ้าหน้าที่โครงการหลวงปังค่า ให้ข้อมูลกับนำอะโวคาโดสุกกำลังดีมาให้ลองชิม

"เป้าหมายหลักของโครงการหลวงคือสร้างอาชีพให้กับชาวเขา ลดการทำลายป่าและการโยกย้ายถิ่นฐาน นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดกลไกการตลาดที่เข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว" กรรณิการ์ กันหา เจ้าหน้าที่โครงการหลวงปังค่า เล่าถึงเป้าหมายหลักที่ทางโครงการหลวงกำลังทำอยู่ในปัจจุบัน

ผมอาจจะไม่เข้าใจในเนื้อแท้ของวิถีแห่งเกษตรกรรมมากนัก แต่ก็พอจะเห็นว่า ฤดูกาลยังคงเข้ามาเกี่ยวเนื่องกับผู้คนอย่างแน่นแฟ้น เพราะเมื่อความชื่นฉ่ำของฤดูกาลกำลังหมดไป ข้าวในนากำลังเริ่มเหลือง แสงของวันเริ่มหมดช้าลง อาจจะเป็นเพราะมันเดินทางไกลขึ้น หรือที่คนโบราณบอกว่ามันเดินอ้อมต้นข้าว เพื่อให้ข้าวได้แสงนาน ๆ จะได้สุกเร็ว ๆ คนปลูกข้าวทั้งบนภูเขาและที่ราบต่างรอคอยเวลานั้น เวลาของการเก็บเกี่ยวผลิตผลที่ฟูมฟักมาตลอดหลายเดือน เนื่องว่านี่คือต้นทุนชีวิตของปีหน้า เงินทองหรือกับข้าวไม่มีก็คงไม่หนักหนา เพราะว่าข้าวเปลือกในยุ้งยังเต็มเปี่ยม อย่างไรก็พอจะทำให้ชีวิตมีเรี่ยวแรงต่อสู้ จังหวะของชีวิตต่างไหลลื่นไปตามกระแสแห่งกาล ซึ่งโครงการหลวงเข้ามาเติมเต็มในหลายเรื่องราวด้วยกัน นี่แหละที่เป็นหนึ่งในเป้าหมายเหมือนการปิดทองหลังพระ ที่ทำความดีโดยไม่ต้องอวดใคร
วันนี้เราลาจากโครงการหลวงและวนอุทยานภูลังกา ในช่วงเวลาที่ท้องฟ้าปกคลุมด้วยเมฆฝน เป้าหมายต่อไปของเราคือ ภูลังกา รีสอร์ท จุด พักผ่อนและชมทิวทัศน์ที่งดงามสุดบนถนนสายโรแมนติก รอยต่อระหว่างจังหวัดน่านและพะเยา ความทรงจำของวันอุ่นไอหนาว ที่คลอเคล้าสายหมอกในหุบเขาเบื้องล่างนั้น เป็นสิ่งที่คนเดินทางและถ่ายภาพต้องการจะพบเจอ เพราะนั่นเป็นเสมือนรางวัลที่ธรรมชาติมอบให้ ซึ่งเท่านี้ก็เพียงพอแล้วให้หัวใจได้โบยบิน...

เย็นนี้เรานั่งมองแท่งหินปูนเบื้องหน้าจากระเบียงบนบ้านพัก พร้อมจินตนาการแสนสุขถึงอรุณรุ่งและห้วงยามอันอ่อนหวาน เราแยกย้ายกันเข้าที่พักในช่วงหัวค่ำค่อนข้างเร็ว เนื่องว่าต้องการพักผ่อนเอาแรงไว้สำหรับวันใหม่ ซึ่งผมมีประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมกับการถ่ายภาพทะเลหมอกที่นี่ จำได้แม่นยำว่าคราวนั้นเราล่องภาคเหนือกันหลายวัน เพื่อนผมจากสงขลาขี่รถมอเตอร์ไซค์ สัญชาติอเมริกัน ฮาเลย์ เดวิดสัน ขึ้นมาสมทบกันที่นี่ เล่าเรื่องราวต่าง ๆ แลกเปลี่ยนกันอย่างออกรส กว่าจะแยกย้ายกันเข้านอนแสงเดือนฉายก็สว่างขึ้นเหนือทิวเขาใหญ่

เสียงนาฬิกาปลุกดังเบา ๆ จากโทรศัพท์เคลื่อนที่เรียกให้ผมลุกออกมาจากที่นอนและผ้าห่มนุ่มหนา ท้องฟ้าสีน้ำเงินเข้ม ดารดาษไปด้วยหมู่ดาวที่ประดับวิบวาวอยู่อย่างตระการตา ผมนำขาตั้งกล้องและกล้องพร้อมสายลั่นชัตเตอร์ขึ้นประกอบและค่อย ๆ โฟกัสอย่างช้า ๆ ก่อนจะเปิดโปรแกรมให้อยู่ในโหมด B เพื่อให้เราสามารถเก็บแสงได้นานอย่างที่ต้องการ ความงดงามของผืนทะเลหมอกเบื้องล่างเริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อตีนฟ้ายก ผมยืนมองภาพที่เปลี่ยนไปตามกระแสธารแห่งเวลาที่ไม่หยุดนิ่ง สายลมหนาวจากหุบเขาพัดผ่านเข้ามาเป็นระยะ

เสียงน้ำเดือดดังขึ้น หลังจากที่ผมปล่อยสายลั่นชัตเตอร์ เพื่อให้กล้องหยุดการบันทึกแสง จากนั้นจึงตรวจภาพที่ได้จากการถ่ายภาพเมื่อสักครู่ แม้จะเป็นเพียงเส้นทางสั้น ๆ ของดวงดาวที่มาประดับไว้ในไฟล์ภาพ คู่กับผืนทะเลหมอกแน่น แต่นั่นก็เพียงพอแล้วสำหรับความอิ่มใจ
แสงแรกเริ่ม ส่องผ่านทิวเขาทางตะวันออก เงาตะคุ่มดำของแท่งหินปูบริเวณบ้านห้วยเฟือง เห็นชัดเจนขึ้นจนดูคล้ายกับจะลอยอยู่เหนือท้องทะเลก็มิปาน จากการมองผ่านเลนส์เทเลโฟโต ผมเห็นสายหมอกเป็นริ้วเคลื่อนไหวไปอย่างเอื่อยช้า ตามความแผ่วของสายลมที่พัดพลิ้วอยู่ในหุบเขาเบื้องล่าง ผมยืนมองแสงยามเช้าที่เริ่มสาดแสงสีเหลืองทองลงบนผืนทะเลหมอกสีขาว ของธรรมชาติทำให้เราอิ่มเอมหัวใจยิ่งนัก

เรายังยืนอ้อยอิ่งอยู่บนระเบียงจุดชมวิวของภูลังกา รีสอร์ท จนสายหมอกเริ่มจางหายไปจากหุบเขาของบ้านห้วยเฟือง และภายใต้ผืนทะเลหมอกนั้น ยังมีสิ่งงดงามอีกมากมายนักที่ยังรอการเข้าไปเยี่ยมจากคนเดินทาง

เราตัดสินใจลาจากเส้นทางสุดแสนโรแมนติกแห่งนี้ หลังจากที่ได้คุยกันถึงพาสปอร์ที่ยาวที่สุดในโลกกับเจ้าของสถานที่ โดยหวังว่าหนาวนี้เราจะได้กลับมาที่นี่อีกครั้ง หวังว่าคงได้เจอกันนะครับ บนเส้นทางแห่งสายหมอกและดวงดาวบนท้องฟ้า...

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ตรัง เมืองหมูย่างรสเลิศ เสน่ห์หาดทรายงาม

ตรัง
ตรัง

ตรังคำขวัญ...เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกสีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา

สำหรับผู้ที่หลงใหลบรรยากาศของหาดทราย ชายทะเล กลุ่มเกาะ และอาหารอร่อยแล้ว ไม่มีใครไม่คิดถึง "ตรัง" หรือ "เมืองทับเที่ยง" เมืองท่าค้าขายที่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต และเติบโตต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน โดยสั่งสมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ตกทอดไว้ในแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี

และอย่างที่รู้กันว่า ตรัง เป็นดินแดนแรกที่มีการนำต้นยางพารามาปลูก ทุกวันนี้ยางพาราคือพืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้ ทำรายได้เลี้ยงชีพผู้คนมาอย่างยั่งยืน ไม่เพียงเท่านั้น ความอุดมสมบูรณ์ของตรังยังรวมถึงผืนป่า แหล่งน้ำ และถ้ำน้อยใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าหาดทราย ชายทะเล และหมู่เกาะเลย

การไปเยือน จังหวัดตรัง จึงนับว่าได้ท่องเที่ยวครบทุก รสชาติ ทั้งดินแดนประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ธรรมชาติ โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเหมาะสมและพอเพียงในแต่ละที่ที่คุณไป

จังหวัดตรัง มีเนื้อที่ประมาณ 4,941 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเล็กเนินน้อยสลับกับที่ราบ ทำให้สันนิษฐานกันว่าชื่อตรัง มาจากคำว่า "ตรังคะ" ในภาษาบาลี ซึ่งแปลว่าลูกคลื่น ตามสภาพพื้นที่ของจังหวัดตรัง ขณะที่อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งบอกว่า ตรังมาจาก "ตรังเค" ภาษามลายู แปลว่า "รุ่งอรุณ" หรือ "สว่างแล้ว" เพราะสมัยก่อน เรือสินค้าจากมลายูจะแล่นมาถึง "ตรัง" ตอนสว่างพอดี

ความเป็นมาของ เมืองตรัง นั้น เริ่มต้นในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยพบหลักฐานคือจารึกวัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งบอกไว้ว่า ตรัง เป็นหัวเมืองที่ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช และหลักฐานอื่น ๆ ที่พบในเวลาต่อมา ทำให้สามารถแบ่งยุคสมัยของวิวัฒนาการเมืองตรังได้เป็น 3 ช่วง คือ

1. สมัยตั้งเมืองที่ตำบลควนธานี (พ.ศ. 2354-2436) ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พบหลักฐานจากทำเนียบกรมการเมืองตรังว่า พระอุไภยธานี ผู้ว่าราชการเมืองตรังคนแรก ได้สร้างหลักเมืองไว้ที่ควนธานี (อยู่ในอำเภอกันตังในปัจจุบัน ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ 8 กิโลเมตร)

2. สมัยตั้งเมืองที่กันตัง (พ.ศ. 2436-2458) ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยุคนี้พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง ท่านเห็นว่าที่ตั้งเมืองเดิมคือควนธานีนั้นอยู่ห่างจากฝั่งทะเลมาก จึงกราบบังคมทูลขอย้ายที่ตั้งเมืองมาอยู่ที่ตำบลกันตัง เพราะที่นี่เป็นชุมชนใหญ่ มีชาวจีนเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในช่วงที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเป็นเจ้าเมืองนี้เองที่ตรังได้รับ การพัฒนาไปอย่างมาก เช่น มีการนำต้นยางพาราจากมลายูมาปลูกเป็นครั้งแรก มีการตัดถนนจากตรังไปพัทลุง สร้างท่าเรือเพื่อรองรับการค้าขายกับต่างชาติ ฯลฯ นับเป็นยุครุ่งเรืองอย่างยิ่งเลยทีเดียว

3. สมัยตั้งเมืองที่ทับเที่ยง (พ.ศ. 2458 จนถึงปัจจุบัน) ล่วง มาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ทรงมีพระราชดำริว่า เมืองกันตังมีพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัยจากอริราชศัตรู อีกทั้งมีการระบาดของไข้อหิวาตกโรค จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ตำบลทับเที่ยง ซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอเมืองตรังในปัจจุบันนั่นเอง

ตรัง

สถานที่ท่องเที่ยว ที่ไม่ควรพลาด

สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาช่อง ตั้งอยู่ที่ หมู่ 7 ตำบลเขาช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ไปตามทางหลวงสายตรัง-พัทลุง อยู่ห่างจากตัวเมืองตรัง 21 กิโลเมตร สถานที่แห่งนี้ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่และน้ำตกต่าง ๆ วันเปิดทำการทุกวัน ไม่เสียค่าเข้าชม

พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ตั้งอยู่เลขที่ 1 ถนนค่ายพิทักษ์ ตำบลกันตัง อยู่ห่างจากเทศบาลกันตังประมาณ 200 เมตร เป็นที่ตั้งของสถานที่ประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือ “จวนเก่าเจ้าเมืองตรัง” หรือบ้านพักอดีตเจ้าเมืองตรังพระยารัษฎานุประดิษฐ์ เปิดทำการทุกวัน ไม่เสียค่าเข้าชม

ยางพาราต้นแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ริมถนนก่อนเข้าสู่ตัวอำเภอกันตัง หน้าสหกรณ์การเกษตรกันตัง เป็นต้นยางรุ่นแรกที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ

เขาปินะ ภูเขาลูกนี้ภายในกลวงจนถึงยอดเขา มีลักษณะคล้ายกะทะคว่ำ ตรงเชิงเขาเป็นที่ตั้งของวัดปินะ มีบันไดขึ้นไปชมถ้ำ ซึ่งมีอยู่หลายชั้นและชมทิวทัศน์รอบ ๆ เขาได้ บริเวณทางเข้าถ้ำมีพระพุทธไสยาสน์ประดิษฐานอยู่

เกาะมุก-ถ้ำมรกต ตั้ง อยู่บนฝั่งตะวันออกของเกาะ นับเป็นจุดเด่นที่สุดในทะเลตรัง ลักษณะของเกาะทางด้านทิศตะวันตกส่วนใหญ่เป็นโขดหน้าผาหินสูงตระหง่านหัน หน้าออกสู่ทะเล นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปเกาะมุก สามารถลงเรือจากท่าเรือปากเมง อำเภอสิเกา ใช้เวลาเดินทาง 40 นาที ค่าเช่าเรือเหมาลำราคาประมาณ 1,500 บาท/วัน หรือนั่งเรือโดยสารขึ้นที่ท่าเรือกวนตุงกู ค่าเรือคนละ 40 บาท ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

สวนสาธารณะควนตำหนักจันทน์ ตั้งอยู่ที่อำเภอกันตัง อยู่ในเขตเทศบาลตำบลกันตัง ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 24 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 250 ไร่

วนอุทยานบ่อน้ำร้อนกันตัง อยู่ในท้องที่บ้านควนแคง หมู่ที่ 7 ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหวาง ป่าควนแคง และป่าน้ำราบ มีเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ ซึ่งกรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549

หาดยาว ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลเกาะลิบง เป็นหาดทรายยาวต่อจากโขดเขารูปกระโดงฉลามขึ้นมาทางด้านเหนือ มีสนทะเลขึ้นเป็นแนวดูสวยงาม มีชายหาดกว้างเหมาะจะเข้าค่ายพักแรม และมีบริการที่พักของเอกชน จากตัวเมืองตรังโดยรถตู้ปรับอากาศสาย ตรัง-หาดยาว ค่าโดยสารคนละ 40 บาท

เกาะลิบง เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอกันตัง ตั้งอยู่ที่ตำบลลิบง ทะเลตรัง มีพื้นที่ 25,000 ไร่ รอบ ๆ เกาะเต็มไปด้วยหญ้าทะเลซึ่งเป็นอาหารของ "พะยูน" สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กำลังจะสูญพันธุ์ การเดินทางนักท่องเที่ยวต้องไปลงเรือที่ท่าเรือกันตัง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง

เกาะกระดาน อยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะมุกและเกาะลิบง เป็นเกาะที่สวยแห่งหนึ่งของทะเลตรัง อยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะมุกและเกาะลิบง มีเนื้อที่ 600 ไร่

อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ตั้ง อยู่ที่หาดฉางหลาง ห่างจากตัวเมือง 27 กิโลเมตร ตามเส้นทางสาย 4046 ระยะทาง 40 กิโลเมตร และเลี้ยวซ้ายตามถนนเลียบชายหาดอีก 7 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลครอบคลุมพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อำเภอกันตังและอำเภอสิเกา มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งที่อยู่บนฝั่งและอยู่ในทะเล ประเภทถ้ำ บ่อน้ำร้อน ชายหาด และแหล่งดำน้ำดูปะการัง เป็นต้น

แต่เนื่องจากอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ อยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้ช่วงระหว่าเดือนกรกฎาคม - กันยายน มีฝนตกชุก คลื่นลมแรง ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว จึงมีกำหนดปิดการท่องเที่ยวประจำปี บริเวณถ้ำมรกต เกาะกระดาน เกาะเชือก และเกาะแหวน ในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 30 กันยายน ของทุกปี สำหรับแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่บนฝั่ง สามารถท่องเที่ยวได้ตามปกติตลอดทั้งปี โดยมีแหล่งท่องเที่ยว เช่น บ่อน้ำร้อนควนแคง, เกาะกระดาน, เกาะเชือก, เกาะมุกต์, ถ้ำเจ้าไหม, หาดเจ้าไหม, หาดฉางหลาง, หาดปากเมง และหาดหยงหลิง-หาดสั้น

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าคลองลำชาน ตั้งอยู่ในตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด เป็นที่อยู่อาศัยของนกเป็ดน้ำนกเป็ดแดงจำนวนมาก รอบ ๆ จะมีหนองน้ำขนาดใหญ่ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่สงบเงียบเหมาะสำหรับการนั่งพัก ผ่อน พร้อมทั้งมีศาลาริมน้ำสำหรับไว้นั่งชมนก

ประติมากรรมใต้น้ำในทะเลตรัง เป็นทางเลือกใหม่ของแหล่งท่องเที่ยวในทะเลตรัง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้จัดทำปะการังเทียมใต้น้ำซึ่งออกแบบเป็นประ ติมากรรมรูป "พะยูน" เพื่อสะท้อนเอกลักษณ์ท้องถิ่น

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

พิชิตดอยสอยมาลัย ที่ตาก

ดอยสอยมาลัย
ดอยสอยมาลัย
ดอยสอยมาลัย
ดอยสอยมาลัย
ดอยสอยมาลัย
สายลมเย็น ๆ ค่อย ๆ คืบคลานพัดผ่าน หมอกบางเบาปกคลุมยอด "ดอยสอยมาลัย" สถานที่ที่ได้ชื่อว่าเป็นหลังคาเมืองตาก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งดอยที่นักเดินทางอยากไปสัมผัสสักครั้ง เพราะตลอดสองข้างทางไปแวดล้อมไปด้วยธรรมชาติ ป่าไม้ ทิวเขาเขียวขจี ไร่กะหล่ำปลีกว้างสุดลูกหูลูกตา มองหมู่บ้านชาวเขาตั้งอยู่บ้างประปลาย

นั่นแน่! เริ่มอยากเดินทางไปสัมผัสความงามของ "ดอยสอยมาลัย" กันแล้วใช่มั้ยล่ะ อะ ๆ ก่อนจะโลดแล่นไปกอดฟ้า กอดขุนเขา ต้องไปทำความรู้จักกับ "ดอยสอยมาลัย" กันซักหน่อย

ดอยสอยมาลัย ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น จ.ตาก และ จ.เชียงใหม่ ยอดดอยอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,664 เมตร และเป็นยอดเขาสูงที่สุดของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น ซึ่งก่อนขึ้นไปพิชิต ดอยสอยมาลัย ได้นั้น ต้องขออนุญาตก่อนทุกครั้ง เหตุเพราะถือว่าเป็นเขตที่มีความเปราะบางทางพันธุกรรมสูง ดังนั้น การขอเข้าใช้พื้นที่จึงต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง

บนยอด ดอยสอยมาลัย นอกจากจะมองเห็นทิวทัศน์ และความงดงามของอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลได้แล้วนั้น ดอยสอยมาลัย ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกหนึ่งอย่าง คือ สลาแมนเดอร์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จิ้งจกน้ำ เป็นสัตว์น้ำดึกดำบรรพ์ที่หายาก ลักษณะคล้ายจิ้งจก ลำตัวสีชมพู

สำหรับสภาพป่าโดยทั่วไปของ ดอยสอยมาลัย เป็นป่าสนเมืองหนาว มีจุดชมวิวทะเลหมอกในยามเช้า ช่วงปลายฝนต้นหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม เป็นช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวที่สุด นักท่องเที่ยวสามารถกางเต็นท์พักแรมได้บริเวณที่ทำการฯ โดยจะต้องขออนุญาตที่หน่วยพิทักษ์ป่ากิ่วสามล้อก่อนขึ้นดอยสอยมาลัยทุกครั้ง ซึ่งสามารถกางเต้นท์พักแรมได้ด้วยกัน 3 จุด คือ…

1. หน่วยต้นน้ำเขื่อนภูมิพล ห่างจากยอดดอยประมาณ 5 กิโลเมตร
2. บริเวณยอดดอย (จุดสูงสุด)
3. หน่วยจัดการต้นน้ำ กรมป่าไม้ เลยยอดดอยไปประมาณ 5 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตาม ก่อนขึ้นพิชิตหลังคาเมืองตาก ต้องขออนุญาตจากหน่วยพิทักป่าเกียวสามล้อก่อน ซึ่งเลยปากทางขึ้นดอยไปประมาณ 2 กิโลเมตร และพาหนะเดินทางต้องเป็นรถขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้น ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใด ๆ ทั้งสิ้น
free counters